โครงการปลูกป่าชัยพัฒนา - แม่ฟ้าหลวง
หน้าหลัก                     เว็บบอร์ด                    เที่ยวเชิงอนุรักษ์                    ประชาสัมพันธ์                    ติดต่อเรา


 
Search WWW
Search truehits.net

หน้าหลัก
เว็บบอร์ด
เที่ยวเชิงอนุรักษ์
ข่าวประสัมพันธ์
ติดต่อเรา
เกี่ยวกับโครงการ
กิจกรรมหลักของโครงการ
เกร็ดความรู้


 


หน้าหลัก / เกร็ดความรู้ / ดิน

ศัพท์ควรรู้ในโครงการพระราชดำริ


           ในเอกสารพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ 25
มิถุนายน2540ได้มีใจความเกี่ยว กับเรื่องดินตอนหนึ่งว่า ดินที่เหมาะสมสำหรับการเกษตรกรรม
ต้องมีคุณสมบัติต่างๆ ดังนี้
               - มีแร่ธาตุที่เรียกว่า ปุ๋ย และแร่ธาตุอื่นๆ
               - มีระดับ เปรี้ยว ด่าง ใกล้เป็นกลาง (pH 7)
               - มีความ เค็ม ต่ำ
               - มีจุลินทรีย์
               - มีความชื้นพอเหมาะ (ไม่แห้ง ไม่แฉะ)
               - มีความโปร่งพอเหมาะ (ไม่แข็ง)
        จากข้อความข้างต้นนี้ จะเห็นได้ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงศึกษา ลักษณะต่างๆ ที่เกี่ยวกับดินไว้อย่างลึกซึ้ง ลักษณะของดินที่ไม่ตรงตามข้อความข้างต้น ถือว่าเป็นดินที่ไม่เหมาะสม
ต่อการเพาะปลูก   ทำให้ประชาชนที่เลี้ยงชีพด้วยการ เกษตรได้รับความเดือดร้อน ไม่สามารถทำการ
เพาะปลูกบนพื้นดินเหล่านี้ได้ ซึ่งดินประเภทนี้ก็คือดินที่แปรสภาพไปจากเดิมเช่นอาจมีสภาพเป็นกรด
จัด เค็มจัด อัดตัวแน่น ขาดความโปร่งพรุน มีแร่ธาตุไม่สมดุล และลักษณะของดินที่สร้างปัญหาให้แก่
เกษตรกรอย่างมากก็คือ ดินเปรี้ยว ดินพรุ ดินเค็ม และดินจืด

             ดินเปรี้ยว หรือที่ภาษาอังกฤษใช้คำว่า acid soilหมายถึงดินที่มีสภาพความเป็นกรดสูง
ค่าความเป็นกรดด่าง หรือค่า pH จะไล่ตั้งแต่ 1 ไปจนถึง 14 ค่าที่เป็นกลางคือ 7 ถ้าค่า pH ต่ำกว่า
7 ถือว่าดินมีสภาพเป็นกรด และถ้าค่า pH ต่ำกว่า 4 แปลว่าดินมี สภาพเป็นกรดจัด หรือเปรี้ยวจัด
ซึ่งหนังสือคำบัญญัติศัพท์ ภูมิศาสตร์ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ ความหมายดินเปรี้ยวจัด ดิน
กรดจัด หรือดินกรดกำมะถันไว้ว่า acid sulfate soil ที่เรียกว่า ดินเปรี้ยวนั้นเพราะว่า ดินมีกรด
sulfuric ปะปนอยู่ ซึ่งกรดที่ว่านี้มีรสเปรี้ยว แล้วสาเหตุที่ดินเปรี้ยว แปลเป็นภาษาอังกฤษว่า
acid soil    ก็เพราะ acid นั้นแปลว่ากรด และ soil แปลว่าดินซึ่งเป็นดินชั้นบนสุดของพื้นผิวโลก
ที่พืชสามารถเจริญเติบโตได้นั่นเอง
        โครงการศึกษาทดลองการแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยวอันเนื่องมาจากพระราชดำริแนวทฤษฎีการ
แก้ไขปัญหาดินเปรี้ยวจังหวัดนครนายก จึงเกิดขึ้น โดยใช้แนวทฤษฎี แกล้งดิน ในพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัว เริ่มจากการ แกล้งให้ดินเปรี้ยวด้วยการทำให้ดินแห้งและเปียกสลับกันไป เพื่อเร่ง
ปฏิกิริยาทางเคมีของดิน เป็นการ แกล้งดินให้เปรี้ยวจนถึงสุดขีด จากนั้นจึงใช้วิธีการแก้ปัญหาดิน
เปรี้ยวตามแนวพระราชดำริต่อไป ซึ่งทฤษฎีดังกล่าวเริ่มต้นครั้งแรกที่ศูนย์พิกุลทอง จังหวัดนราธิวาส 

       ดินพรุ   คือดินในพื้นที่พรุที่แปรสภาพเป็นดินเปรี้ยวจัด เนื่องจากดินในพื้นที่พรุซึ่งเป็นภาษา
ท้องถิ่นของภาคใต้แปลว่าพื้นที่ที่มีน้ำขัง มีลักษณะเป็นอินทรียวัตถุ หรือซากพืชซากสัตว์ที่เน่าเปื่อย
ทับถมอยู่ข้างบน และมีสารประกอบกำมะถันที่เรียกว่าสารประกอบไพไรท์อยู่มาก เมื่อต้องการใช้
ประโยชน์จากพื้นที่พรุ จึงจำเป็นต้องสูบน้ำออกจากพื้นที่จนหมดและเมื่อดินแห้ง สารประกอบไพไรท์
จะทำปฏิกิริยากับอากาศ ปล่อยกรดกำมะถันออกมา ทำให้ดินมีความเป็นกรดจัด หรือเปรี้ยวจัด ดังนั้น
คำว่าดินพรุจึงใช้คำภาษาอังกฤษเช่นเดียวกับดินเปรี้ยวนั่นเอง ดินเค็ม  หรือ saline soil คำว่า
saline แปลว่ามีส่วนผสมของเกลือ หรือ มีเกลือปะปนอยู่ ซึ่งดินเค็มก็คือดินที่มีปริมาณเกลือละลาย
อยู่ในดินมากเกินไป ทำให้ดินขาดน้ำ ซึ่งเป็นอันตรายต่อพืช ทั้งยังทำ ให้ธาตุอาหารของพืชไม่มีความ
สมดุล โครงการศึกษาทดลองแก้ไขปัญหาดินเค็มอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนครราชสีมา
ได้แก้ไขปัญหาดินเค็มโดยเน้นการเพาะปลูกพืชที่มีความเหมาะสมกับลักษณะของดินปรับปรุงดิน
และปลูกพืชผักต่างๆ ควบคู่ไปด้วย
      ส่วนคำว่า ดินจืดนั้นไม่มีการแปลเป็นภาษาอังกฤษอย่างเป็นทางการเนื่องจากเป็นภาษาพูดที่ใช้
เรียกดินที่มีแร่ธาตุสารอาหารไม่เพียงพอกับความต้องการของพืช ทำให้การเพาะปลูกไม่เจริญงอกงาม
ต้องใส่ปุ๋ยหรือสารอาหารบำรุงดินพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริแก่หน่วย
งานต่างๆที่เกี่ยวข้องเข้าไปศึกษาทดลองเพื่อหาวิธีการแก้ไขปัญหาในรูปแบบต่างๆ บนที่ดินของ
มูลนิธิชัยพัฒนา เพราะดินเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญต่อการเพาะ ปลูกและประกอบอาชีพ
เกษตรกรรม เป็นแหล่งอาหารที่ใช้เลี้ยงพืช สัตว์ และประชาชนชาวไทยทุกคน

 

Chaipattana-Mae Fah Luang Reforestation Project