โครงการปลูกป่าชัยพัฒนา - แม่ฟ้าหลวง
หน้าหลัก                     เว็บบอร์ด                    เที่ยวเชิงอนุรักษ์                    ประชาสัมพันธ์                    ติดต่อเรา


 
Search WWW
Search truehits.net

หน้าหลัก
เว็บบอร์ด
เที่ยวเชิงอนุรักษ์
ข่าวประสัมพันธ์
ติดต่อเรา
เกี่ยวกับโครงการ
กิจกรรมหลักของโครงการ
เกร็ดความรู้


 


หน้าหลัก / หญ้าแฝก

    หญ้าแฝก จัดเป็นหญ้าเขตร้อนที่ขึ้นอยู่ตามธรรมชาติ กระจัดกระจายทั่วไปในสภาพแวดล้อมต่างๆ
ซึ่งในประเทศไทยจะพบหญ้าแฝกขึ้นอยู่ตามธรรมชาติในพื้นที่ทั่วไปจากที่ลุ่มจนถึงที่ดอน สามารถขึ้น
ได้ในดินเกือบทุกชนิด มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Vetiveria zizanioides เป็นพืชตระกูลหญ้าขึ้นเป็นกอหนา
แน่น เจริญเติบโตโดยการแตกกออย่างรวดเร็ว ไม่เป็นอุปสรรคต่อพืชที่ปลูกข้างเคียงจัดเป็นมาตรการ
อนุรักษ์ดินและน้ำวิธีหนึ่งที่สามารถช่วยให้ดินมีความชื้นและรักษาหน้าดิน เพื่อใช้สำหรับปลูกพืช
เศรษฐกิจซึ่งการใช้หญ้าแฝกในการอนุรักษ์ดินและน้ำดังกล่าวเป็นวิธีการที่ง่ายน้อยมาก ซึ่งจะเป็นการ
นำไปสู่การพัฒนาระบบเกษตรกรรมในเขตพื้นที่การเกษตรน้ำฝนให้มีความมั่นคงและยั่งยืนสามารถน้ำ
วิธีการนี้ไปใช้ในพื้นที่อื่น ๆเพื่อรักษาสภาพแวดล้อมและอนุรักษ์สภาพแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากร
ธรรมชาติเช่น พื้นที่สองข้างของทางคลองชลประทานอ่างเก็บน้ำ บ่อน้ำ ป่าไม้ ป้องกันขอบตลิ่งคอ
สะพาน ไหล่ถนนเป็นต้น
      ประโยชน์จากหญ้าแฝกการปลูกหญ้าแฝกมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อใช้ในการอนุรักษ์ดินและน้ำโดย
เฉพาะในบริเวณพื้นที่ลาดชัน ตามแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแต่การปลูกเพื่อ
อนุรักษ์ดินและน้ำหรือการปลูกในพื้นที่เกษตรในลักษณะต่างๆนั้น เป็นการใช้ประโยชน์ในแง่ของ
การอนุรักษ์ซึ่งมีคุณค่าที่ไม่สามารถประเมินราคาเป็นตัวเงินให้เกษตรกรเห็นได้ จึงเป็นสาเหตุให้
เกษตรกรบางส่วนยังไม่ยอมรับหญ้าแฝกแต่แท้จริงแล้วใบและรากหญ้าแฝกสามารถใช้เป็นประโยชน์
อื่นได้อีกโดยเฉพาะส่วนของใบซึ่งต้องตัดออกอยู่เป็นประจำในการดูแลแถวแฝกสมารถนำมาใช้
มุงหลังคา ใช้ในงานศิลปหัตถกรรมต่าง ๆเพื่อเป็นอาชีพเสริมทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น

      การใช้ประโยชน์จากใบหญ้าแฝกสำหรับงานศิลปหัตถกรรมและ งานหัตถกรรมเครื่อง
จักสาน
ชนิดของหญ้าแฝกที่มีใบเหมาะสมจะนำมาทำงานหัตถกรรมเป็นกลุ่มหญ้าแฝกหอม
(Vetiveria zizanioides Nash ) ได้แก่สายพันธุ์ศรีลังกากำแพงเพชร 2 สุราษฎร์ธานี และสงขลา 3
เป็นต้น ลักษณะใบของหญ้าแฝกหอมนี้จะมีใบมันและยาวเมื่อโดนน้ำใบจะนิ่ม จึงเหมาะจะนำมาทำ
งานหัตถกรรมได้งานหัตถกรรมที่สามารถใช้ใบหญ้าแฝกมาประดิษฐ์ได้แก่งานหัตถกรรมประเภท
เครื่องจักสาน เครื่องจักสานเป็นงานหัตถกรรมที่เป็นที่นิยมและใช้ได้ทุกสถานที่ทุกโอกาสสามารถนำ
มาเป็นของใช้ได้หลากหลาย เช่น
                  - ทำเป็นตะกร้าและภาชนะ
                  - ทำเป็นเครื่องตกแต่งบ้าน
                  - ทำเป็นเครื่องประดับ
                  -  ทำเป็นของใช้สำนักงาน
                  -  ผลิตภัณฑ์ตะกร้าและภาชนะได้แก่ ตะกร้า กระจาด กระด้ง และภาชนะรองต่าง ๆ
                  -  ผลิตภัณฑ์เครื่องตกแต่งบ้านได้แก่ นาฬิกาแขวน กรอบรูป โป๊ะไฟ ของตั้งโชว์ ดอกไม้
                  - ผลิตภัณฑ์เครื่องตกแต่งกาย ได้แก่ กระเป๋า หมวก เข็มขัด เข็มกลัดติดเสื้อ
                  -  ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ได้แก่ แฟ้มเอกสาร ปกไดอารี่

            สำหรับรากหญ้าแฝกที่มีกลิ่นหอม นำมาประดิษฐ์เป็นพัดไม้แขวนเสื้อ หรือใช้ผสมรวมกับใบ
และดอกไม้อบแห้งเป็นบุหงา

      การใช้ประโยชน์จากต้นและใบหญ้าแฝกเป็นวัสดุมุงหลังคา  คนไทยใช้ส่วนต้นและใบหญ้า
แฝกเป็นวัสดุมุงหลังคา เช่นเดียวกับการใช้ใบจาก ก่อนที่จะเปลี่ยนมาใช้ใบหญ้าคาที่หาง่ายมาเป็น
เวลาช้านานหญ้าแฝกที่นำมาใช้เป็นวัสดุมุงหลังคา ควรเลือกหญ้าแฝกที่ต้นโตสมบูรณ์ อายุ 1 ปี ขึ้น
ไปใบเริ่มเปลี่ยนจากเขียวเป็นเหลือง แต่ยังไม่แห้งโดยทั่วไปจะเก็บเกี่ยวในช่วงเดือนมกราคม ถึง
กุมภาพันธ์ เกษตรกรจะเกี่ยวต้นเหนือดินประมาณ 1 ฝ่ามือหรือต่ำกว่า นำมาสางเอาใบสั้นหรือเศษใบ
ออก ผึ่งแดดให้แห้ง และมัดรวมกันไว้เป็นมัดใหญ่ เรียกว่า "โคน" โดยทั่วไป 1 โคนมี 30 กำ ซึ่ง
สามารถทำตับแฝกได้ 5-7 ตับ เมื่อต้องการจะทำตับหญ้าแฝกหรือที่เรียกว่า "กรองแฝก" หรือ "ไพแฝก"
จะใช้ไม้ไผ่หรือไม้รวกเป็นแกนกลางหยิบหญ้าแฝก 1 จับ หรือ 1 หยิบ ขนาดเท่าหัวแม่มือหรือประมาณ
5-6 ต้น ซึ่งประกอบด้วยใบประมาณ 12-16ใบ พับ 1/3 ให้ส่วนโคนต้นอยู่ด้านสั้น และส่วนปลายใบ
เป็นด้านยาวต่อจากนั้นใช้เถาวัลย์ ตอก หรือวัสดุ อื่น ๆ มัดให้แฝกเรียงติดกันให้แน่นแฝก 1 ตับมีความ
ยาว 120 - 170 เซนติเมตร ประกอบด้วยต้นและใบหญ้าแฝกประมาณ 150 จับ หรือต้องใช้ต้นหญ้าแฝก
ประมาณ 750 - 900 ต้นต่อ 1 ตับแฝก เมื่อมุงหลังคาจะใช้ด้านโคนใบ ( ด้านสั้น ) อยู่ด้านในของเรือน ส่วนด้านปลายใบ( ด้านยาว ) จะอยู่ด้านนอกวางเรียงทับกันจากล่างขึ้นบนหญ้าแฝกเป็นวัสดุมุงหลังคา
ที่มีคุณสมบัติฃดีกว่าการใช้หญ้าคามากเพราะส่วนต้นและใบของหญ้าแฝกมีไขเคลีอบมีกลิ่นหอมเฉพาะ
ตัวและมักจะไม่ถูกแมลงทำลาย อายุการใช้งานของหลังคาหญ้าแฝกจะขึ้นอยู่กับความประณีตของการ
กรองแฝกหรือไพแฝกให้เป็นตับ ต้นและใบหญ้าแฝกที่มีความถี่จะมีความคงทนรวมทั้งลักษณะการวาง
ตัวแฝกบนหลังคา ถ้าหลังคาลาดเทมาก เช่น หลังคาลาดเทมาก เช่น หลังคาเรือนทรงไทย แฝกจะมี
อายุใช้งานได้ทนนานกว่าหลังคาที่เอียงราบ

            การปลูกแลการดูแลรักษาหญ้าแฝก
                   1. เมื่อปลูกไปแล้วหากพบว่าหญ้าแฝกบางส่วนตาย ให้ทำการปลูกซ่อมโดยเร็วเมื่อ
สภาพดินฟ้าอากาศอำนวย คือมีน้ำ มีฝน หรือดินมีความชื้น
                   2. ควรตัดหญ้าแฝกที่ปลูกไปแล้วอย่างน้อย 60 วันต่อครั้งในช่วงหน้าฝน หรือเมื่อ
เห็นว่าหญ้าแฝกกำลังจะย่างปล้องออกดอกในหน้าแล้งให้ตัดเท่าที่มีความจำเป็น
                   3. การตัดหญ้าที่ปลูกในพื้นที่ลาดชันซึ่งปลูกเป็นแถวขวางความลาดชันของพื้นที่
ให้นำใบหญ้าแฝกที่ตัดแล้วไปวางไว้เหนือโคนแถวหญ้าแฝก ในพื้นที่ราบหรือพื้นที่ที่มีความเทลาด
น้อยแต่หลายทิศทาง ซึ่งปลูกหญ้าแฝกแบบเป็นแถวหรือปลูกเป็นรูปวงกลมรอบโคนต้นไม้ผลและไม้
ยืนต้น ให้นำใบหญ้าแฝกที่ตัดได้เกลี่ย คลุมดินระหว่างแถวหญ้าแฝกหรือนำไปคลุมโคนต้นไม้ผลและ
ไม้ยืนต้น ให้นำหญ้าแฝกที่ตัดได้ไปเกลี่ยคลุมดินระหว่างแถวหญ้าแฝกหรือนำไปคลุมโคนต้นไม้ผล
และไม้ยืนต้น
                   4. หลังจากปลูกหญ้าแฝกไปแล้ว 3-4 ปี จะมีต้นตายแซมภายในแถวเพราะตัดหญ้า
แฝกน้อยครั้งไปหรือปล่อยให้หญ้าแฝกย่างปล้องออกดอกก่อนทำการตัดแต่งให้ตัด หญ้าแฝกดินใน
ช่วงหน้าแล้ง เมื่อถึงหน้าฝนต่อมาหญ้าแฝกจะแทงหน่องอกออกมาใหม่ตามแถวและแนวปลูกเดิม
เหมือนกับปลูกใหม่
                   5. ในการปลูกหญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ ควรปลูกหญ้าแฝกระยะถี่ต้นชิดติดกัน
(กล้าแฝกเปลือยราก) หรือห่างกันไม่เกิน 5 เซนติเมตร (กล้าแฝกถุง) หากหญ้าแฝกในแถวช่วงใดช่วง
หนึ่งได้รับความเสียหายหรือตายให้ทำการปลูกซ่อมโดยเร็วเพื่อทำให้ระบบของการอนุรักษ์ดังกล่าวทำ
งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                   6. การปลูกหญ้าแฝกในดินเสื่อมโทรม ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ย
หมักรองก้นหลุมเมื่อหญ้าแฝกเริ่มตั้งตัวได้แล้วควรใส่ปุ๋ยเคมีเพื่อเร่งให้หญ้าแฝกเจริญเติบโต และแตก
กอได้เร็วขึ้นและดีขึ้นโดยใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ โรยเป็นแถวตามแนวหญ้า
แฝกที่ปลูก หากเป็นที่ลาดชันให้โรยเหนือแถวหญ้าแฝก
                   7. การปลูกหญ้าแฝกเป็นแถว ครึ่งวงกลม หรือวงกลม ควรห่างจากพืชหลัก โดยเฉพาะ
ไม้ผลและไม้ยืนต้นไม่น้อยกว่า 1.5-2.0 เมตร
                   8. ไม่ควรปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่ป่าสมบูรณ์ หรือพื้นที่ที่ไม้ผลและไม้ยืนต้นเจริญเติบโต
คลุมพื้นที่แล้ว
                   9. หากมีวัชพืชประเภทเถาเลื้อยขึ้นพันปกคลุมหญ้าแฝก ให้รีบกำจัดเพราะจะทำให้หญ้า
แฝกไม่เจริญเติบโตตามปกติและจะตายไปในที่สุดเพราะขาดแสง
                   10. การปลูกหญ้าแฝกเพื่อขยายพันธุ์ ควรปลูกในพื้นที่ที่ดินมีความอุดมสมบูรณ์ หรือ
ต้องมีการใส่ปุ๋ย(สูตร15-15-15 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่) และควรมีการตัดแต่งใบหญ้าแฝกอย่าง สม่ำ
เสมอป้องกันไม่ให้หญ้าแฝกมีการเจริญเติบโตทางรากมากเกินไป เพราะจะเป็นการยากในการขุดราก
หญ้าแฝกจะได้รับการกระทบกระเทือนมากเมื่อย้ายกล้าไปปลูก

 

Chaipattana-Mae Fah Luang Reforestation Project