ศัพท์ควรรู้ในโครงการพระราชดำริ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่ได้ทรงให้ความสำคัญกับปัญหาเรื่องดินและน้ำเท่านั้น แต่ยังทรง
คำนึงถึงความสัมพันธ์กันระหว่างทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งความสัมพันธ์ดังกล่าวนี้เกี่ยว
เนื่องกับการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ด้วยเช่นกัน จึงทรงค้นหาวิธีการอนุรักษ์และเพิ่มปริมาณป่าไม้อย่าง
ถาวร และคงลักษณะธรรมชาติดั้งเดิมไว้หลายวิธี ในฉบับนี้จะยกเอาตัวอย่างแนวคิดในการอนุรักษ์ที่
น่าสนใจมาให้อ่านกันสัก 3-4 ตัวอย่างดังนี้ การปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก ซึ่ง ภาษาอังกฤษ ใช้คำว่า
Reforestation without Planting หรือ Natural Reforestation ซึ่งคำว่า forest เป็นคำที่ใช้
เรียกป่าไม้โดยทั่วไป ส่วน Re ที่เป็นคำนำหน้านั้นแปลว่า อีกครั้ง ทำอีก ครั้งเพื่อปรับปรุงให้ดีขึ้นและ
กลับไปสู่สภาพเดิม คำว่า Reforestation จึงแปลเป็นไทยว่า การปลูกป่าขึ้นใหม่เพื่อทดแทนในพื้นที่
ที่ป่าเดิมได้ถูกทำลายไป การที่ ปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก ใช้ภาษาอังกฤษว่า Reforestation without
Planting นั้น เป็นการแปลอย่างตรงตัวตรงความหมาย Reforestation ตามที่พูดไว้ข้างต้นว่าแปลว่า
การปลูกป่าขึ้นใหม่เพื่อทดแทน without แปลว่าปราศจากและPlant แปลว่า ปลูกต้นไม้ Planting ก็คือ
การปลูกต้นไม้ นำมารวมกันแล้วจึง แปลว่า การปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูกนั่นเองสำหรับ Natural
Reforestation คำว่า Natural มาจากคำว่า Nature ที่แปลว่าธรรมชาติ Natural จึงมี ความหมายว่า
ตามธรรมชาติ ก็คือการปลูกป่าโดยปล่อยไปตามธรรมชาติหรือโดยไม่ต้องปลูกนั่นเอง แนวคิด ปลูกป่า
โดยไม่ต้องปลูกนี้แสดงให้เห็นว่าป่าไม้สามารถเจริญเติบโตเองได้ตามธรรมชาติ ถ้ามนุษย์เรา ไม่ไป
รบกวนทำลายป่าและปล่อยให้เติบโตเองตามธรรมชาติ สักระยะหนึ่งป่าไม้ก็จะสมบูรณ์ได้ด้วยตัวเอง การที่ปลูกป่าโดยไม่เข้าใจถึงธรรมชาติของป่าจะเป็นการทำลายป่าโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และยังเป็นการ
ทำลายสภาพแวดล้อมอีกด้วยแนวคิดนี้จึงเป็นแนวคิดที่เข้าใจธรรมชาติได้อย่างลึกซึ้งโดยใช้หลักการ
ฟื้นฟูสภาพป่าด้วยวัฏธรรมชาติ
การปลูกป่า 3 อย่างได้ประโยชน์ 4 อย่าง แปลเป็นภาษาอังกฤษได้ว่า 3 Forests,
4 Benefits แนวคิดนี้แปลเป็นภาษาอังกฤษตรงตัว ตรงความหมายเช่นกัน คำว่า Benefit แปลว่า
คุณประโยชน์ หรือกำไร มีรากศัพท์มาจากภาษาลาตินที่แปลเป็นภาษาอังกฤษได้ว่า Benefaction ซึ่งหมายความถึงการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน แนวคิดนี้เป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและทรัพยากร
ป่าไม้ ในขณะเดียวกันก็เป็นการสนองความต้องการทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของราษฎรไปในตัว
ด้วยนอกจากนี้ยังเป็นการป้องกันไม่ให้ชาวบ้านบุกรุกเข้าทำลายป่าไม้ โดยปลูกป่า 3 อย่าง คือ ป่า
สำหรับไม้ใช้สอย ป่าสำหรับเป็นไม้ผล หรือไม้กินได้ และป่าสำหรับเป็นเชื้อเพลิง หรือไม้ฟืน นั่นคือป่า
3 อย่าง ซึ่งป่า 3 อย่างนี้ให้ประโยชน์ตามประเภท คิดเป็นประโยชน์ 3 อย่างแล้ว ส่วนประโยชน์อย่างที่
4 นั้นคือการอนุรักษ์ดิน และน้ำ และคงความชุ่มชื้นเอาไว้ ไม่ว่าป่าชนิดไหนใดก็ให้ประโยชน์อย่างนี้ทั้ง
นั้น ซึ่งถือได้ว่าเป็นผลพลอยได้
ป่าเปียก หรือ Wet Forest เป็นแนวคิดที่ใช้ป้องกันไฟป่า ซึ่งถ้าเกิดขึ้นแล้วจะทำให้เกิด
ความเสียหายอย่างมาก ต้องมีการระดมกำลังเข้าแก้ไขอย่างเร่งด่วนทุกครั้งไป หากรู้วิธีการป้องกันที่ถูก
ต้อง และมีประสิทธิภาพแล้วนั้น จะได้ประโยชน์อย่างมหาศาล ซึ่งวิธีการสร้างป่าเปียกนั้นไม่ยากเลย
วิธีการแรกคือการทำระบบป้องกันไปไหม้ป่า โดยใช้แนวคลองส่งน้ำ และแนวพืชชนิดต่างๆต่อไปให้
สร้างระบบการควบคุมไฟป่าด้วยแนวป้องกันไฟป่าเปียก หรือ Wet Fire Break ซึ่งคำว่า Break ในที่
นี้แปลว่าหยุด นั่นเอง จากนั้นให้ปลูกไม้โตเร็วคลุมแนวร่องน้ำเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น แล้วจึงสร้างฝาย
ชะลอความชุ่มชื้น หรือ Check Dam ซึ่งเป็นคำศัพท์ที่ได้เสนอไปในฉบับที่แล้ว โดยความชุ่มชื้นจะ
ค่อยๆ แผ่ขยายเข้าไปในดินจนกลายเป็น ป่าเปียก จากนั้นให้สูบน้ำขึ้นไปในระดับที่สูงที่สุดแล้วค่อย
ปล่อยลงมา เพื่อให้ค่อยๆ ซึมลงดิน แล้วจึงปลูกต้นกล้วยหากเกิดไฟไหม้ก็จะปะทะต้นกล้วยซึ่งอุ้มน้ำ
ได้ดีกว่าพืชอื่นทำให้ลดการสูญเสียน้ำไปได้มาก
การปลูกป่าทดแทน ใช้คำว่า Reforestation ซึ่งได้อธิบายไปแล้วในแนวคิด การปลูก
ป่าโดยไม่ต้องปลูกป่าไม้ไม่ได้มีแค่คำว่า Forest คำเดียวเท่านั้น แต่ยังมีคำว่า Wood ที่แปลว่าป่าที่มี
พื้นที่ขนาดเล็ก หรือ Jungle คือป่าไม้เขตร้อนที่มีพื้นที่กว้าง และมีต้นไม้ใหญ่ขึ้นหนาทึบ การปลูกป่า
ทดแทนนั้นเป็นวิธีการเพิ่มเนื้อที่ป่า โดยปลูกทดแทนในพื้นที่ป่าไม้ถูกบุกรุกและพื้นที่เสื่อมโทรม ตาม
ไหล่เขาบริเวณต้นน้ำบนยอดเขาและเนินสูง และปลูกเสริมธรรมชาติ เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าที่
กล่าวมานั้นเป็นเพียงไม่กี่ตัวอย่างของแนวคิดที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงริเริ่มแต่ก็นับเป็น
แนวพระราชดำริที่เอื้อประโยชน์ และเป็นตัวอย่างของการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ที่อยู่บนพื้นฐานของ
ความเรียบง่าย และยั่งยืนอย่างแท้จริง
|