จากสภาพปัญหาหน้าดินถูกชะล้างและพัดพาไปจนหมดหรือเกือบหมด เกิดจากการกัดเซาะเป็น
ร่องน้ำลึกจำนวนมาก ทำให้ดินเสื่อมโทรมอย่างรุนแรง ประกอบกับการใช้สารเคมีติดต่อกัน มายาว
นานอาจมีผลตกค้างเป็นอันตรายต่อพืชและสัตว์เลี้ยง ดังนั้นการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการเกษตรจึง
ค่อนข้างลำบาก ต้องลงทุนสูง ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน หากจัดเป็นที่ทำกินให้เกษตรกรก็จะเป็นการ
สร้างปัญหาแก่เกษตรกร
และประเทศชาติไม่มีที่สิ้นสุด จึงสมควรฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรมในรูปแบบที่
เหมาะสมโดยการปลูกหญ้าแฝกอนุรักษ์ดิน รักษาความชุ่มชื้น ควบคู่กับการปลูกป่า และจัดทำเป็น
สวนพฤกษศาสตร์อันเป็นการรักษาทรัพยากรที่ดินของประเทศให้นำมาใช้ประโยชน์อย่างถูกต้องและ
เหมาะสมเป็นการปรับปรุงสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศน์วิทยาเป็นแหล่งศึกษาด้านพฤกษศาตร์
และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติซึ่งสอดคล้องกับแนวทางพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ ในช่วงแผน
พัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7
สภาพหินโผล่บนผิวดิน และการเกิดชั้นดินดาน สาเหตุจากการใช้ประโยชน์จากที่ดินโดย
ขาดมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำ
สภาพหินและลูกรังโผล่เหนือผิวดินในพื้นที่ที่พบเห็นโดยทั่วไป
สภาพการพังทลายแบบร่องลึก (Gully erosion) |