กำหนดให้เป็น 2 ระยะ คือระยะที่ 1 ในปี 2537-2539 จะเป็นการพัฒนาพื้นที่ ประมาณ 4,794 ไร่
และระยะที่ 2 ตั้งแต่ ปี 2540 เป็นต้นไปจะขยายพื้นที่การปลูกป่าในบริเวณภูเขา ที่ติดต่อกับพื้นท
ี่โครงการระยะที่ 1
1. พื้นที่ดำเนินการสำหรับกิจกรรมต่าง ๆ ในระยะที่ 1 (ปี 2537- 2539) พื้นที่ดำเนินการ
ประมาณ 4,794 ไร่ สามารถแบ่งพื้นที่ดำเนินการตามกิจกรรมต่าง ๆ ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์
ดังนี้
1.1 พื้นที่อ่างเก็บน้ำห้วยไม้ตาย เนื้อที่จำนวน 1,000 ไร กรมชลประทานได้รับพระราชดำริ
เมื่อ ปี 2532 ให้สร้างอ่างเก็บน้ำห้วยไม้ตายซึ่งมีความจุน้ำน้อยเพราะค่อนข้างตื้นจึงจะนำน้ำจาก
อ่างเก็บน้ำห้วยไทรงามมาเพิ่มเป็นน้ำต้นทุนอ่างเก็บน้ำห้วยไม้ตายได้ ซึ่งอ่างเก็บน้ำห้วยไม้ตายมี
ความจุประมาณ 3.7 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่อ่างเก็บน้ำประมาณ1,000 ไร่ ก่อสร้างเสร็จ ปี 2536
1.2 พื้นที่ป่าและพื้นที่สวนพฤกษศาสตร์ผสมผสานกับการปลูกหญ้าแฝกจำนวนเนื้อที่ 3,500
ไร่ ซึ่งจะแยกเป็นพื้นที่ป่า 3,200ไร่ และสวนพฤกษศาสตร์300 ไร่ จากสภาพของปัญหาในเรื่องของ
คุณภาพดินสภาพ เนื้อดินเป็นดินทรายและดินตื้น ง่ายต่อการกัดกร่อน และมีความสามารถในการ
อุ้มน้ำไว้ได้น้อยบางส่วนพบว่าดินเกิดการแน่นทึบมีหินโผล่ และ บางส่วนเกิดการกัดเซาะเป็นร่องลึก
ตามบริเวณร่องน้ำธรรมชาติ และทางระบายน้ำ ดังนั้นกิจกรรมในการพัฒนาในส่วนนี้จะเกี่ยวข้อง
กับการฟื้นฟูสภาพดินจึงได้ดำเนินการใช้ระบบหญ้าแฝกร่วมกับระบบการอนุรักษ์ดินและน้ำอื่นๆร่วม
กับการปลูกป่าโดยทำการปลูกหญ้าแฝกตามแนวระดับขวางความลาดชันของพื้นที่ในพื้นที่ความลาด
ชันน้อยปลูกหญ้าแฝกเป็นแถวมีระยะห่างตามแนวดิ่ง (vertical interval) 1 เมตร ส่วนพื้นที่ลาดชัน
ปานกลางใช้ระยะตามแนวดิ่ง 1.5เมตรพื้นที่ภูเขาใช้ระยะตามแนวดิ่ง 4 เมตร และบริเวณร่องน้ำ
หรือร่องห้วยในพื้นที่ได้ดำเนินการสร้างบ่อดักตะกอน(checkdam) เพื่อเป็นแหล่งรับน้ำและตะกอน
ดินที่ถูกชะล้างไม่ให้ถูกพัดพาไปสะสมในแหล่งน้ำตอนล่าง นอกจากนี้ในพื้นที่บางส่วน จะใช้ในการ
ศึกษารูปแบบการจัดการกระบวนเกษตรโดยการนำรูปแบบและเทคโนโลยีในกระบวนการเกษตรมา
ประยุกต์ใช้ เพื่อฟื้นฟูและใช้ประโยชน์ที่ดินโดยการปลูกพืชยืนต้นซึ่งเป็นไม้โตเร็วอเนกประสงค์ และไม้โตเร็วที่มีคุณสมบัติในการตรึงไนโตรเจน
เช่นกระถินณรงค์ และสะเดาร่วมกับพืชเศรษฐกิจ
ยืนต้นประเภทไม้ผลและพืชเศรษฐกิจล้มลุกเช่น ถั่วต่าง ๆ
พืชคลุมดินและพืชบำรุงดิน
1.3 พื้นที่ศึกษาเกี่ยวกับหญ้าแฝก จำนวนเนื้อที่ 310 ไร่เป็นพื้นที่ที่ใช้ในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับ
หญ้าแฝกและการขยายพันธุ์หญ้าแฝกรวมทั้งกิจกรรมอื่นใดที่เกี่ยวข้อง เช่น ศูนย์รวมพันธุ์ไม้สมุนไพร
ไม้หายาก และอื่น ๆ
พื้นที่ดำเนินการระยะที่ 1 เนื้อที่ 4,794 ไร่
2. พื้นที่ดำเนินการในระยะที่ 2 เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2540 เป็นพื้นที่บริเวณภูเขาที่
ติดต่อกับพื้นที่ระยะที่ 1 ซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่ตำบลหนองพลับ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
เนื้อที่ 1,919 ไร่ และในเขต พื้นที่ตำบล ไร่ใหม่พัฒนา อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี เนื้อที่
3,515 ไร่ ปัจจุบันพื้นที่โครงการ ปลูกป่าชัยพัฒนา- แม่ฟ้าหลวง มีเนื้อที่ประมาณ 10,300 ไร่
จากการดำเนินการในช่วงปี 2537 ถึงปัจจุบัน พบว่ารากหญ้าแฝก ได้ทำหน้าที่รักษาหน้าดิน
และความชุ่มชื้น
ทำให้พื้นที่มีการพัฒนาด้านระบบนิเวศน์ดีขึ้น มีพืชพรรณธรรมชาติขึ้นปกคลุมดิน
เกื้อกูลให้ป่าไม้ที่ปลูกร่วมมีการเจริญเติบโตที่ดี เมื่อต้นไม้เจริญเติบโตแผ่กิ่งก้านจนเบียดชิดกัน ป่า
ไม้มีความสมบูรณ์ขึ้น หน้าที่ใน การอนุรักษ์ดินและน้ำของระบบหญ้าแฝกเริ่มลดน้อยลงดังจะเห็นได้ว่า
แนวรั้วหญ้าแฝก ด้านในบริเวณที่ได้รับแสงแดดน้อยจะตายไปบ้างส่วนแนวรั้วหญ้าแฝกด้านนอกที่ยัง
ได้รับแสงสว่างตามปกติจะยังทำหน้าที่ดักตะกอนและ อินทรียวัตถุและกักเก็บความชุ่มชื้น ให้คงอยู่ใน
พื้นที่ป่าต่อไป
|